การเปิดโอกาสให้เกิดการมีส่วนร่วม
การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร นโยบายการมีส่วนร่วม โรงเรียนชุมชนบ้านปากชม
สํานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 1
1. การมีส่วนร่วม ( Participation ) : การที่จะนําพาองค์กรไปสู่ความยั่งยืนหรือมี วัฒนธรรม องค์กรที่เด่นชัดหรือชัดเจนได้นั้น การมีส่วนร่วมในองค์กรของข้าราชการครูและ บุคลากรทางการศึกษาทุกคนตั้งแต่ ผู้อํานวยการโรงเรียน รองผู้อํานวยการโรงเรียน ตลอดจน ครูในโรงเรียนล้วนแล้วแต่มีความสําคัญและความจําเป็นอย่างยิ่ง เพราะหากขาดซึ่งความร่วมมือ จากทุกฝ่ายในองค์กรแล้วก็ยากที่จะพบเจอกับคาวาองค์กรแห่งความยั่งยืน
2. การเปิดใจกว้าง ( Openness / Candor ) : สิ่งจําเป็นอีกประการหนึ่งในการ เสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรให้แข็งแกร่ง คือการมีคณะครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่มีทัศนคติ ในการเปิดใจกว้าง ยอมรับความเปลี่ยนแปลง และพร้อมจะยอมรับสิ่งใหม่ๆ หรือสิ่งที่เป็นนโยบาย ขององค์กร นําไปปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพและ ประสิทธิผล เกิดความยั่งยืนในองค์กร
3. ความไว้เนื้อเชื่อใจ และการยอมรับ ( Trust and Respect ) : การขับเคลื่อนองค์กร สู่ความยั่งยืนหรือมีวัฒนธรรมองค์กรที่เด่นชัด คือ ความไว้เนื้อเชื่อใจ และการยอมรับในตัว บุคลากรในองค์กรผู้บริหารควร ไว้เนื้อเชื่อใจและยอมรับในความสามารถของบุคลากรภายใน องค์กร ที่ตนเองได้สัมภาษณ์หรือร่วมงานกับองค์กรด้วยตนเอง ต้องสร้างมิตรภาพที่ดีในหมู่ของ คนทํางานไม่แบ่งชนชั้นในการทํางาน
4. ข้อผูกพันหรือพันธะสัญญา ( Commitment ) : เสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรอย่าง ยั่งยืนนั้นครูทุกคนทุกระดับในองค์กรจะต้องมีข้อผูกพันหรือพันธะสัญญาร่วมกัน ว่าทุกคนจะ มุ่งมั่นไปสู่เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ที่องค์กรได้จัดตั้งไว้อย่างต่อเนื่องและไม่ล้มเลิกข้อผูกพันหรือ พันธะสัญญา
5. ปณิธานในการขจัดข้อขัดแย้ง ( Conflict Resolution ) : ยุคอดีต ยุคปัจจุบัน หรือ ยุคอนาคตความขัดแย้งในองค์กรหรือในสังคม ก็ยังคงเป็นอุปสรรคประการสําคัญประการหนึ่ง ใน การนําพาองค์กร ให้ฝ่าฟันไปพบกับความสําเร็จในการเป็นองค์กรที่มีวัฒนธรรมแห่งความยั่งยืนได้ ดังนั้น ผู้บริหารและคณะครูทุกคน จะต้องร่วมแรงร่วมใจ และร่วมด้วยช่วยกันที่จะขจัดปัดเป่า ความขัดแย้งที่มีอยู่ในทุกหนทุกแห่งในองค์กร ให้กลับกลายมาเป็นพลังแห่งความคิดสร้างสรรค์หรือความคิดเห็นต่างแต่ไม่แตกแยกหรือแตกความสามัคคี
6. ความเป็นเอกฉันท์หรือฉันทามติ ( Consensus ) : ผู้บริหารหรือนักบริหารงานบุคคล สามารถขจัดความขัดแย้งหรือเปลี่ยนความขัดแย้งให้เป็นความคิดที่สร้างสรรค์ให้เกิดขึ้นภายใน องค์กรได้แล้วนั้นความเป็นเอกฉันท์หรือฉันทามติต่างๆ ทําให้การบริหารจัดการภายในองค์กรที่ เกี่ยวกับการเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร เป็นไปอย่างง่ายดาย เพราะครูส่วนใหญ่ในองค์กร เห็นชอบและพูดเป็นเสียงเดียวกันหรือปฏิบัติในแบบอย่างเดียวกัน
7. การตัดสินใจ ( Decision Making ) : การที่ผู้บริหารกล้าที่จะบอกกับครูทุกๆ คน หรือกล้าที่จะแสดงพฤติกรรมต้นแบบ ( Role Model ) ให้กับครูได้เห็นเป็นตัวอย่างได้ มิใช่เพียง ติดประกาศ หรือแถลงเป็นนโยบายเท่านั้น รวมไปถึง การกล้าที่จะตัดสินใจ พิจารณาบริหาร จัดการกับครูซึ่งไม่ปฏิบัติตนให้เหมาะสมกับวัฒนธรรมองค์กรที่ทุกคนได้มุ่งมั่นทุ่มเทในการแสดง พฤติกรรมให้สอดคล้องกับวัฒนธรรมขององค์กร
8. การรวมพลัง ( Synergy ) : การเสริมสร้างความเป็นประชาธิปไตย คือ การรวมพลัง ของทุกคนในองค์กร หากรวมพลังกันหรือผนึกพลังกันหลายๆ คนแล้ว ก็สามารถมีพลังที่สามารถ จะทําอะไรให้ประสบความสําเร็จได้อย่างยอดเยี่ยม
9. จุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์( Goal and Objective ) : องค์กรต้องมีจุดมุ่งหมาย และวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ในการกําหนดแนวทางหรือทิศทางในการบริหารองค์กร หรือวิสัยทัศน์(Vision ) การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กร ต้องมีการกําหนดจุดมุ่งหมายและวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน ซึ่งรวมไปถึงการสื่อสารและกิจกรรมที่ต่อเนื่องภายในองค์กร เพื่อหาทางออกหรือหลุดพ้นอุปสรรค ที่เกิดขึ้น
10. การเปลี่ยนแปลงและการพัฒนา ( Change and Development ) : องค์กรย่อม ที่จะต้องมีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาต่อไปตามกาลเวลาที่เปลี่ยนแปลงไป ตามยุคเศรษฐกิจที่ เปลี่ยนแปลงไปผู้บริหารที่ต้องการจะเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์กรก็จะต้องปรับเปลี่ยนรูปแบบและ พัฒนาการบริหารงานภายในองค์กรและการบริหารคนองค์กรให้มีองค์ประกอบครบทั้ง 9 ประการ ดังที่ได้กล่าวมาข้างต้นนี้ เพื่อองค์กรแห่งความยั่งยืน ( Sustainable Organization )
กิจกรรมการมีส่วนร่วมกิจกรรม